วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560


ไข้เลือดออก

ไข้เลือดออก (Dengue Fever) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue) ที่แพร่สู่ร่างกายคนจากการกัดของยุงลายตัวเมีย ผู้ป่วยจะมีไข้สูง มีอาการป่วยรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา ยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคเป็นยุงที่ออกหากินเฉพาะในตอนกลางวัน ชอบอาศัยอยู่ในแถบอากาศร้อนชื้น จึงพบได้มากในประเทศเขตร้อนในทวีปเอเชีย แอฟริกา อเมริกากลางและใต้ ตอนเหนือของออสเตรเลีย และตามหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก จากการแพร่ระบาดในวงกว้างอย่างรวดเร็ว ไข้เลือดออกจึงเป็นหนึ่งในโรคที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ความสนใจ และประกาศให้เป็นโรคที่ควรเฝ้าระวัง
ไข้เลือดออก
ประเทศไทยอยู่ในพื้นที่เขตร้อนชื้น จึงพบการแพร่กระจายของยุงลายได้มาก อาจพบโรคนี้ประปรายตลอดปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูฝนคือเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน มีฝนตกชุกและมีแอ่งน้ำท่วมขัง ซึ่งเป็นเสมือนแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยสถิติจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขของไทย 2 ปีล่าสุด พบว่ามีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 40,278 ราย โดยมีผู้เสียชีวิต 41 ราย ในปี 2557 และเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 142,925 ราย เสียชีวิต 141 ราย ในปี 2558 โดยพบการระบาดของโรคมากที่สุดในบริเวณภาคกลาง ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งเมืองใหญ่ทั่วปริมณฑลที่มีคนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ซึ่งเอื้อต่อการแพร่ระบาดของโรค ดังนั้น โรคไข้เลือดออกจึงเป็นโรคติดต่อที่มีการประกาศเตือนให้เป็นโรคเฝ้าระวังในประเทศไทย เพราะมีอัตราการป่วยและการแพร่ระบาดค่อนข้างสูง และมีแนวโน้มทางสถิติที่จะเพิ่มสูงขึ้นอีกเรื่อย ๆ
อาการของไข้เลือดออก
อาการเบื้องต้นคล้ายไข้หวัดทั่วไป เช่น มีไข้สูง ตัวร้อน ปวดหัว ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย แต่ผู้ป่วยไข้เลือดออกจะมีอาการแสดงที่รุนแรงกว่า คือ มีไข้สูงมาก ปวดหัวมาก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั่วลำตัว ในบางรายอาจคลื่นไส้อาเจียน อาจพบผื่นแดงหรือจ้ำเลือดใต้ผิวหนังทั่วตัว หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เช่น มีเลือดออกตามเนื้อเยื่อในร่างกายในรายที่ร่างกายอ่อนแอและมีภูมิคุ้มกันต่ำ
สาเหตุของไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออก เกิดจากยุงลายเพศเมียที่เป็นพาหะของโรค ดูดเลือดของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่ จากนั้นไวรัสเดงกี่จะเติบโตภายในท้องของยุงลาย เมื่อยุงลายกัดคนอื่นต่อไป เชื้อไวรัสนี้ก็จะแพร่เข้าสู่ร่างกายผู้ที่ถูกกัดไปด้วย
การวินิจฉัยไข้เลือดออก
สังเกตอาการด้วยตนเอง หากมีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดหัว หรือมีผื่นแดงหรือห้อเลือด ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เมื่อพบแพทย์ แพทย์จะตรวจวัดความดันโลหิต สังเกตลักษณะอาการที่แสดง พร้อมกับการซักประวัติผู้ป่วย  เพื่อดูความเสี่ยงและโอกาสว่าผู้ป่วยอยู่ในบริเวณที่มีการระบาดของไข้เลือดออกหรือไม่ และอาจตรวจเลือดเพื่อดูความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดร่วมด้วย
การรักษาไข้เลือดออก
การรักษาผู้ป่วยไข้เลือดออกนั้นยังไม่มียารักษาเฉพาะโรค เป็นเพียงการรักษาประคับประคองตามอาการอย่างใกล้ชิด โดยทั่วไป ผู้ป่วยไข้เลือดออกจะมีไข้สูงมากและปวดหัวรุนแรง เบื้องต้นจึงใช้ยาระงับอาการ คือ Acetaminophen หรือพาราเซตามอล ซึ่งเป็นยาแก้ปวดและลดไข้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน ซึ่งจะมีผลต่อเซลล์เม็ดเลือด อาจกระทบต่อภาวะที่มีเลือดออกซึ่งทำให้อาการแย่ลง ในกรณีที่ผู้ป่วยอาเจียนและอ่อนเพลียจากไข้ แพทย์จะให้น้ำเกลือเพื่อชดเชยการเสียน้ำในร่างกาย นอกจากนี้เป็นการรักษาตามอาการที่ป่วยและเฝ้าระวังการเกิดอาการแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนของไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออกอาจพัฒนาความรุนแรงไปสู่ภาวะโรค Dengue Hemorrhagic Fever ซึ่งจะทำให้มีไข้สูงขึ้น อาการปวดหัวรุนแรงขึ้น อาจมีภาวะเลือดออกตามเนื้อเยื่อและอวัยวะภายใน และ Dengue Shock Syndrome ซึ่งเป็นภาวะที่เสียเลือดมาก พลาสมารั่ว ความดันโลหิตต่ำ นำไปสู่การช็อกที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
การป้องกันไข้เลือดออก


ปัจจุบัน มีการประกาศใช้วัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดดออกในบางประเทศ สำหรับในประเทศไทยวัคซีนที่ช่วยป้องกันโรคไข้เลือดออกยังอยู่ในกระบวนการค้นคว้าทดลอง เพื่อเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในการรับรองประสิทธิผลทางการรักษา วิธีการป้องกันจึงเน้นไปยังวิธีการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค และการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะเกิดโรคด้วยการดูแลตัวเอง

การม้วนกระดาษ

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

เซลล์

เซลล์พืช


เซลล์พืช 
เซลล์พืช คือ หน่วยของสิ่งมีชีวิตที่เล็กที่สุดของพืช มีส่วนประกอบสำคัญคือผนังเซลล์(Cell Wall)ที่แข็งแรงที่ห่อหุ้มชั้นนอกสุดของเซลล์(Cell) มีรูปร่างเซลล์(Cell)เป็นเหลี่ยม และเซลล์มีคลอโรพลาสต์(Chloroplast) เป็นออร์แกแนลล์(Organelle)ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของพืช นอกนั้นเซลล์พืชก็มีองค์ประกอบคล้ายๆกับเซลล์ทั่วไป คือ มีเยื่อหุ้มเซลล์(Cell Membrane), นิวเคลียส(Nucleus), ไซโทพลาซึม( Cytoplasm) ที่ประกอบไปด้วยออร์แกแนลล์(Organelle)ต่างๆ เช่น กอลจิ คอมเพล็กซ์ (Golgi Complex), ไรโบโซม (Ribosome), เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม (Endoplasmic Reticulum, ER), ไมโทคอนเดรีย(Mitochondria)เป็นต้น นอกนั้นเซลล์พืชก็จะมีออร์แกแนลล์(Organelle
ที่ชื่อแวคิวโอล (Vacuole) ที่มีขนาดใหญ่กว่าของเซลล์สัตว์มาก
     ที่ผนังเซลล์(Cell Wall)ของเซลล์พืช จะมีช่องพลาสโมเดสมาตา (Plastmodesmata)(รูปเอกพจน์ใช้ พลาสโมเดสมา, Plasmodesma) ที่เป็นช่องว่างขนาดเล็กจำนวนมาก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 50-60 นาโนเมตร ช่วยในการทำหน้าที่เชื่อมต่อเซลล์(Cell)ที่อยู่ใกล้เคียงกัน เพื่อช่วยในการขนส่งแลกเปลี่ยนสิ่งต่างๆระหว่างเซลล์พืช
ส่วนประกอบของเซลล์
1.     ผนังเซลล์ ( Cell Wall ) เป็นส่วนประกอบชั้นนอกสุดของเซลล์พืช และเป็นส่วนที่ไม่มีชีวิต ประกอบด้วยสารหลายชนิด เช่น เซลลูโลส, 
คิวติน, เพกติน ลิกนิน , ซูเบอริน ผนังเซลล์มีลักษณะเป็นรูพรุน  ทำหน้าที่เสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่เซลล์ ทำให้เซลล์คงรูปร่างได้ 
ผนังเซลล์มีสมบัติยอมให้สารแทบ   ทุกชนิด ผ่านเข้าออกได้และมีเฉพาะในเซลล์พืชเท่านั้น


                        ผนังเซลล์






2.    เยื่อหุ้มเซลล์ ( Cell membrane หรือ plasma membrane ) มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ ประกอบด้วย  สารไขมันและโปรตีน 
เยื่อหุ้มเซลล์มีรูเล็กๆ ทำให้สามารถจำกัดขนาดของโมเลกุลของสารที่จะผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ 
ดังนั้นเยื่อหุ้มเซลล์จึงมีสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน หรือเซมิเพอเมียเบิลเมมเบรน(Semipermeable  membrane)










 
                                  เยื่อหุ้มเซลล์
ยื่อหุ้มเซลล์มีหน้าที่
1   ห่อหุ้มส่วนประกอบภายในเซลล์ให้คงรูปอยู่ได้
2)    ควบคุมปริมาณและชนิดของสารที่ผ่านเข้าและออกจากเซลล์ทำให้ปริมาณของสารต่าง ๆ    ภายในเซลล์พอเหมาะ
3)    เป็นตำแหน่งที่มีการติดต่อระหว่างเซลล์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก

3.     ไซโทพลาซึม  ( Cytoplasm )  มีลักษณะเป็นของเหลว ประกอบด้วยสารที่สำคัญปนอยู่ คือ โปรตีน ไขมัน  คาร์โบไฮเดรต และเกลือแร่ต่างๆ รวมทั้งของเสียที่เกิดขึ้น ไซโทพลาซึมเป็นศูนย์กลางการทำงานของเซลล์ เกี่ยวกับเมตาโบลิซึม ทั้งกระบวนการสร้างและสลายอินทรียสาร ไซโทพลาซึมประกอบด้วยส่วนประกอบภายในที่อาจเรียกว่า อวัยวะของเซลล์  organelle มีหน้าที่แตกต่างกัน ได้แก่
1)  ร่างแหเอนโดพลาซึมหรือเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม (endoplasmic reticulum) มีทั้งชนิดเรียบและชนิดขรุขระ ทำหน้าที่ขนส่งสารภายในเซลล์
 
ร่างแหเอนโดพลาซึม
                                                                                                 
2)  กอลจิคอมเพลกซ์ ( golgi complex หรือ golgi bodies หรือ golgi apparatus) เป็นที่สะสมโปรตีนเพื่อส่งออกนอกเซลล์
                                                   กอลจิคอมเพลกซ์


 3) ไมโทคอนเดรีย ( mitochondria ) มีลักษณะเป็นก้อนกลมๆ มีผนังหุ้มหนาที่ประกอบด้วยเยื่อ     2 ชั้น
มีหน้าที่เผาผลาญอาหารเพื่อสร้างพลังงานให้แก่เซลล์ 

               ไมโทรคอนเดรีย


4)  คลอโรพลาสต์ ( chloroplast) พบเฉพาะในเซลล์พืชมีหน้าที่ดูดพลังงานแสง เพื่อใช้ในกระบวน
การสังเคราะห์ด้วยแสง ( กระบวนการสร้างอาหารของพืช )


                                                คลอโรพลาสต์
 
 


5)    แวคิวโอ ( vacuole ) มีขนาดใหญ่มากในเซลล์พืช มีลักษณะเป็นถุงมีเยื่อหุ้มบางๆ และเป็นที่สะสมสารต่างๆ มีน้ำเป็นส่วนใหญ่ เรียกว่า เซลล์แซพ ( cell sap ) มีเกลือ น้ำตาล และสารเคมีอื่นๆ ละลายอยู่ภายใน





แวคิวโอล
 
 



4.     นิวเคลียส ( Nucleus ) มีลักษณะค่อนข้างกลม เป็นโครงสร้างของเซลล์ที่เห็นชัดอยู่ตรงกลางเซลล์ ทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมกิจกรรมต่างๆ  ภายในเซลล์ ถูกควบคุมโดยคำสั่งจากนิวเคลียสมีสารประกอบทางเคมีของนิวเคลียส ประกอบด้วย
      
1. ดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (deoxyribonucleic acid) หรือ DNA เป็นส่วนประกอบของโครโมโซมนิวเคลียส
      
2. ไรโบนิวคลีอิก แอซิด (ribonucleic acid) หรือ RNA เป็นส่วนที่พบในนิวเคลียสโดยเป็นส่วนประกอบของนิวคลีโอลัส
      
3. โปรตีน ที่สำคัญคือโปรตีนฮีสโตน (histone) โปรตีนโพรตามีน (protamine) ทำหน้าที่เชื่อมเกาะอยู่กับ DNA               ส่วนโปรตีนเอนไซม์ส่วนใหญ่จะเป็นเอนไซม์ในกระบวนการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิก และเมแทบอลิซึมของกรดนิวคลีอิก
โครงสร้างของนิวเคลียส ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 
    1)    เยื่อหุ้มนิวเคลียส ( nuclear membrane)
                                        เยื่อหุ้มนิวเคลียส
เซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส เรียกว่า   เซลล์ยูคาริโอต (eukaryotic cell) ได้แก่เซลล์ของพืช สัตว์ โพรทิสต์
 
เซลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส เรียกว่า
เซลล์โพรคาริโอต (prokaryotic cell) ได้แก่แบคทีเรีย  สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน



2)    นิวคลีโอพลาซึม ( nucleoplasm ) คือ ส่วนที่อยู่ภายในเยื่อหุ้มนิวเคลียส ประกอบด้วย 
นิวคลิโอลัส ( Nucleolus )  เป็นแหล่งสังเคราะห์และรวบรวมกรดไรโบนิวคลีอิค ( ribonucleic acid )
เรียกย่อว่า   RNA  ทำหน้าที่นำคำสั่งจากนิวเคลียสไปยังเซลล์ส่วนอื่นๆ  และสร้างไรโบโซมเพื่อไปทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนโครมาติน (Chromatin ) คือ                             ร่างแหโครโมโซม โครโมโซมประกอบด้วย  DNA  ( Deoxyribo nucleic acid )  หรือยีน ( Gene ) และโปรตีนหลายชนิด ยีนเป็นตัวควบคุมการแสดงออก                               ของลักษณะต่างๆ ในสิ่งมีชีวิตเป็นตัวถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลาน


                                 นิวคลีโอพลาซึม


 2. โครมาทิน (chromatin) เป็นส่วนของนิวเคลียสที่ย้อมติดสี เป็นเส้นใยเล็กๆ พันกันเป็นร่างแห ประกอบด้วย โปรตีนหลายชนิด และ DNA มีหน้าที่ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ของเซลล์และควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทั่วไป
     
                                                   โครมาทิน



หน้าที่ของนิวเคลียส
                    -      เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของเซลล์
                    -      เป็นแหล่งสังเคราะห์ DNA และ RNA
                    -      ควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนภายในเซลล์
                    -      ควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลาน

บาร์บี้ความลับแห่งนางฟ้า

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

แนะนำตัว

👯👉สวัสดีเราชื่อ ฐิติรัตน์  มุ่งหมาย👈👯


💓👆😍
ชื่อเล่น : นุ่น 💗
เกิดวันที่ : 6 ธ.ค. 2543 🎊🎉
อายุ : 16 ปี 👱

เรียนอยู่ที่ : โรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม 🎓
ชั้น : มัธยมศึกษาปีที่ 4/1🎒
         👉 -Smart Sci#7- 👈
Facebook : Thitirat  Mungmai 💬
ID : puynoon06122543 ✉

IG : thitirat_nun📷